หน่วยที่ 1

                    ความหมาย ความรู้ ความสามารถ วิธีการ ผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวม และจัดเก็บเป็นความรู้ ถ่ายทอดปรับปรุงจากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดเป็นผลผลิตที่ดีงาม งดงาม มีคุณค่ามีประโยชน์ สามารถนำมาแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตได้ ในแต่ละท้องถิ่นจะมีบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถที่เรียนรู้มาจากบรรพบุรุษ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายหรือผู้รู้ในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งความรู้เหล่านี้เป็นความรู้ที่มีคุณธรรม สอนให้คนพึ่งพาธรรมชาติ โดยไม่ทำลายธรรมชาติ และสอนให้รู้จักเอื้ออาทรต่อคนอื่น

ตัวอย่างภูมิปัญญาไทยที่ควรรู้

• ด้านภาษา และวรรณธรรม ได้แก่ สุภาษิต คำพังเพย เพลงพื้นบ้าน ปริศนาคำทายต่างๆ

• ด้านประเพณี ได้แก่ กิจกรรมที่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว ชุมชน โดยการแสดงออกทางประเพณีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านในท้องถิ่นต่างๆ เช่น การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา ประเพณีวันลอยกระทง วันเข้าพรรษา วันสงกรานต์ การละเล่นพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่น เช่น การระบำรำฟ้อนประเภทต่างๆ เซิ้ง กลองยาว เพลงอีแซว หมอลำ มโนราห์ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีความแตกต่างกัน

• ด้านศิลปวัตถุและศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ การทำเครื่องปั้นดินเผาไปแกะสลัก หนังตะลุง เป็นต้น

• ด้านการแต่งกาย ได้แก่ การทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าย ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีลักษณะและความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น

• ด้านอาหาร ได้แก่ การจัดประดับตกแต่งอาหารให้มีความสวยงาม ด้วยการแกะสลักด้วยความประณีต การจัดเลี้ยงอาหารแบบขันโตกของทางเหนือ ด้านอาหารที่ขึ้นชื่อของไทย คือ ต้มยำกุ้ง ผัดไทย แกงเลียง ข้าวยำปักษ์ใต้ ข้าวซอย ส้มตำ เป็นต้น

• ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากิน ได้แก่ การทำระหัดน้ำ การประดิษฐ์กระเดื่องสำหรับตำข้าว การทำเครื่องมือจับสัตว์ เช่น แห อวน ยอ เป็นต้น

• ด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ การคิดรูปแบบและวัสดุที่ใช้ในการสร้างบ้านที่สัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศ และลักษณะภูมิอากาศ เช่น รูปแบบบ้านทรงไทยโบราณ ซึ่งมีใต้ถุนสูง และหลังคามีหน้าจั่วสูง ซึ่งเหมาะกับภูมิอากาศในประเทศไทย เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

ด้านสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย ได้แก่ การคิดค้นนำส่วนต่างๆ ของพืชสมุนไพร นอกจากมาเป็นอาหารแล้ว ยังนำมาใชสกัดเป็นยารักษาโรค เช่น ขิง กระชายดำ พริกไทย เป็นต้น นอกจากนี้พืชสมุนไพรยังนำมาใช้เป็นยาฆ่าแมลง เช่น เปลือก ใบและผลสะเดา ตะไคร้หอม นอกจากนี้การแพทย์แผนไทยแต่ดั้งเดิมมามีการนวดจุดเพื่อรักษาโรคต่างๆ หรือแม้แต่ท่าฤาษีดัดตน เพื่อรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เป็นต้น

ลักษณะของภูมิปัญญาไทย มีดังนี้

๑. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม

๒. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ

๓. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน

๔. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม

๕. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ

๕. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง

๗. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม


ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ อย่างน้อยดังต่อไปนี้

๑. เป็นคนดีมีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพต่างๆ มีผลงานด้านการพัฒนาท้องถิ่นของตน และได้รับการยอมรับจากบุคคลทั่วไปอย่างกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ที่ใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนาของตนเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำรงวิถีชีวิตโดยตลอด

๒. เป็นผู้คงแก่เรียนและหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ผู้ทรงภูมิปัญญาจะเป็นผู้ที่หมั่นศึกษา แสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอไม่หยุดนิ่ง เรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบ เป็นผู้ลงมือทำโดยทดลองทำตามที่เรียนมา

๓. เป็นผู้นำของท้องถิ่น ผู้ทรงภูมิปัญญาส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่สังคม ในแต่ละท้องถิ่นยอมรับให้เป็นผู้นำ ทั้งผู้นำที่ได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการ และผู้นำตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถเป็นผู้นำของท้องถิ่นและช่วยเหลือผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

๔. เป็นผู้ที่สนใจปัญหาของท้องถิ่น ผู้ทรงภูมิปัญญาล้วนเป็นผู้ที่สนใจปัญหาของท้องถิ่น เอาใจใส่ ศึกษาปัญหา หาทางแก้ไข และช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนของตนและชุมชนใกล้เคียงอย่างไม่ย่อท้อ จนประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับของสมาชิกและบุคคลทั่วไป

๕. เป็นผู้ขยันหมั่นเพียร ผู้ทรงภูมิปัญญาเป็นผู้ขยันหมั่นเพียร ลงมือทำงานและผลิตผลงานอยู่เสมอ ปรับปรุงและพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพมากขึ้นอีกทั้งมุ่งทำงานของตนอย่างต่อเนื่อง

๖. เป็นนักปกครองและประสานประโยชน์ของท้องถิ่น ผู้ทรงภูมิปัญญา นอกจากเป็นผู้ที่ประพฤติตนเป็นคนดี จนเป็นที่ยอมรับนับถือจากบุคคลทั่วไปแล้ว ผลงานที่ท่านทำยังถือว่ามีคุณค่า จึงเป็นผู้ที่มีทั้ง "ครองตน ครองคน และครองงาน"

๗. มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เป็นเลิศ เมื่อผู้ทรงภูมิปัญญามีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เป็นเลิศ มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและบุคคลทั่วไป ทั้งชาวบ้าน นักวิชาการ นักเรียน นิสิต/นักศึกษา โดยอาจเข้าไปศึกษาหาความรู้ หรือเชิญท่านเหล่านั้นไป เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ได้

๘. เป็นผู้มีคู่ครองหรือบริวารดี ผู้ทรงภูมิปัญญา ถ้าเป็นคฤหัสถ์ จะพบว่า ล้วนมีคู่ครองที่ดีที่คอยสนับสนุน ช่วยเหลือ ให้กำลังใจ ให้ความร่วมมือในงานที่ท่านทำ ช่วยให้ผลิตผลงานที่มีคุณค่า ถ้าเป็นนักบวช ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใด ต้องมีบริวารที่ดี จึงจะสามารถผลิตผลงานที่มีคุณค่าทางศาสนาได้

๙. เป็นผู้มีปัญญารอบรู้และเชี่ยวชาญจนได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ ผู้ทรงภูมิปัญญา ต้องเป็นผู้มีปัญญารอบรู้และเชี่ยวชาญ รวมทั้งสร้างสรรค์ผลงานพิเศษใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ

เราสามารถจัดแบ่งภูมิปัญญาไทยได้กี่สาขา

จากการศึกษาพบว่า มีการกำหนดสาขาภูมิปัญญาไทยไว้อย่างหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่หน่วยงาน องค์กร และนักวิชาการแต่ละท่านนำมากำหนด ในภาพรวมภูมิปัญญาไทยสามารถแบ่งได้เป็น ๑๐ สาขาดังนี้

๑. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในภาวการณ์ต่างๆ ได้

๒. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลิตผล เพื่อชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม อันเป็นกระบวนการที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้

๓. สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้

๔. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

๕. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการสะสมและบริการกองทุน และธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุม

๖. สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคน ให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

๗. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ ศิลปะมวยไทย เป็นต้น

๘. สาขาการจัดการองค์กร หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการดำเนินงานขององค์กรชุมชนต่างๆ ให้สามารถพัฒนา และบริหารองค์กรของตนเองได้ตามบทบาท และหน้าที่ขององค์การ เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มประมงพื้นบ้าน เป็นต้น

๙. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษาทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทยและการใช้ภาษา ตลอดทั้ง ด้านวรรณกรรมทุกประเภท เช่น การจัดทำสารานุกรมภาษาถิ่น การปริวรรต หนังสือโบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่างๆ เป็นต้น

๑๐. สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ความเชื่อ และประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติ ให้บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม
ภูมิปัญญาไทยสามารถสะท้อนออกมาใน 3 ลักษณะที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกัน คือ

๑. ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันระหว่างคนกับโลก สิ่งแวดล้อม สัตว์ พืช และธรรมชาติ

๒. ความสัมพันธ์ของคนกับคนอื่นๆ ที่อยู่ร่วมกันในสังคม หรือในชุมชน

๓. ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิ่งเหนือธรรมชาติ ตลอดทั้งสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้ทั้งหลาย

ทั้ง 3 ลักษณะนี้ คือ สามมิติของเรื่องเดียวกัน หมายถึง ชีวิตชุมชน สะท้อนออกมาถึงภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิตอย่างมีเอกภาพ เหมือนสามมุมของรูปสามเหลี่ยม ภูมิปัญญาจึงเป็นรากฐานในการดำเนินชีวิตของคนไทย
วัตถุประสงค์ทั่วไป

1. ทราบความหมาย ประเภท ลักษณะ และภูมิปัญญาไทย ของสังคมไทย

2. เข้าใจถึงแยกกแยะภูมิปัญญาไทยออกมาเป็นสาขาต่าง ๆ

3. เข้าใจคุณสมบัติผู้ทรงภูมิปัญญาไทยได้

4. เข้าใจถึงคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทย

5. เข้าใจวิธีการส่งเสริมภูมิปัญญาไทย

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. อธิบาย ความหมาย ประเภท ลักษณะ และภูมิปัญญาไทย ของสังคมไทยได้

2. แยก แยะภูมิปัญญาไทยออกมาเป็นสาขาต่าง ๆได้

3. อธิบายคุณสมบัติผู้ทรงภูมิปัญญาไทยได้

4. อธิบาย คุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทยได้

5. อธิบายวิิธีการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยได้
ภูมิปัญญาไทย

ผ้าไหมไทย เสื้อผ้าไทย เครื่องจักสาน
แสดงภาพผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย
มนุษย์ได้เลือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการตั้งหลักแหล่งอยู่อาศัย ทำมาหากินมาเป็นเวลาช้านาน
ได้เรียนรู้ พร้อมทั้งสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่เหมาะสม อันนเนื่องมาจากการปรับตัว ได้สั่งสม ปรับเปลี่ยน
เปลี่ยนวัฒนธรรมกัน สิ่งเหล่านี้เจึงเป็นภูมิปัญญาของไทยที่ได้สั่งสม สืบทอดเป็นมรดก เพื่อใช้ใน
การดำเนินชีวิตจนถึงทุกวันนี้
ประเภทของภูมิปํญญา

ภูมิปัญญาไทย แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ชาติ และระดับท้องถิ่น

1. ภูมิปัญญาระดับชาติ เป็นภูมิปัญญาที่พัฒนาสังคมไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ในอดีต
เช่น การกอบกู้เอกราชโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และการเสียแผ่นดินบางส่วนของประเทศไทย
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อรักษาเอกราชชาติไทย ทำให้ประเทศไทยไม่ตกเป็น
เมืองขึ้นของชาติตะวันตกในยุคล่าอณานิคม หรือจักรวรรดินิยม

2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน คือสิ่งที่แสสดงความรู้ ความคิดและการกระทำของบรรพบุรุษของเรา เพื่อที่ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย มีดังนี้

1. ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องใช้ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความเชื่อ (Belief)
และพฤติกรรม (Behavior)
2. ภูมิปัญญาไทย แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและคนกับ
สิ่งเหนือธรรมชาติ
3. ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต
4. ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้ เพื่อคงวามอยู่รอด
ของบุคคล ชุมชน และสังคม
5. ภูมิปัญญา เป็นแกนหลัก หรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิต เป็นพื้นความรู้ในเรื่องต่าง ๆ
6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคมตลอดเวลา

คุณสมบัติของผู้ทรงภูมิปัญญาไทย

คุณสมบัติของผู้ทรงภูมิปัญาไทย สรุปได้ดังนี้
1. เป็นผู้มีคุณธรรม ได้การยอมรับจากบุคคลทั่วไป มีความรู้ความสามารถทั้งด้านวิชาชีพ การพัฒนา
ท้องถิ่น และเป็นผู้ใช้หลักธรรมคำสั่งสอนทางศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำรงชีวิต
2. ขยันหมั่นเพรียร ไฝ่หาความรู้อยู่เสมอ ได้ลงมือทอลองทำตามสิ่งที่ได้ศึกษา จนประสบความสำเร็จ
ชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แนะนำนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ชัดเจน ไปปรับปรุงใช้ในชุมชนสังคมอยู่เสมอ
3. เป็นผู้นำท้องถิ่น คนในสังคมให้การยอมรับยกย่องนับถือ ช่วยเหลือผู้อื่นเป็นอย่างดี สนใจแก้ไข
ปัญหาท้แองถิ่น หาทางช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างดี
4. เป็นนักปกครองและประสานประโยชน์ของท้องถิ่น ทำให้คนในท้องถิ่นเกิดความรัก ความเข้าใจ
ความเห็นอกเห็นใจ และมีความสามัคคี ซึ่งจะทำให้ท้องถิ่นหรือสังคมมีความเจริญ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลให้คนในท้องถิ่นผลฃิตผลงานที่มีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับ
5. มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ เป็นวิทยากรรับเชิญไปภายนอก หรือมีประชาชนเข้ามาชม
ผลงาน และถ่ายทอดความรู้ให้เข้าใจเป็นอย่างดี
6. เป็นผู้มีความรอบรู้ เชี่ยวชาญ ได้รับการยกย่อง สามารถสร้างผลงานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังค
จนได้รับการยอมรับจากสาธารณชน
สาขาภูมิปัญญาไทย

การกำหนดสาขาภูมิปัญญาไทย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ต่าง ๆโดยภาพรวมภูมิปัญญา
ไทยสามารถแบ่งได้เป็น 10 สาขา ดังนี้
1. สาขาเกษตร
2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม
3. สาขาแพทย์แผนไทย
4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. สาขาภาษาและวรรณกรรม
6. สาขาศิลปกรรม
7. ศาสนาและประเพณี
8. สาขาการจัดการองค์กร
9. สาขาสวัสดิการ
10. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน



ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
คุณค่าของภูมิปัญญาไทยสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องจากบรรพบุรุษุที่ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคง
ให้ชาติบ้านเมือง มีการดำรงชีวิตที่อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ทำให้คนในชาติเกิดความรักและความภาคภูมิใจ
เพื่อสืบสานไปสู่อานาคต สรุปความสำคัญได้ดังนี้
1. สร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้ภูมิปัญญาในการสร้างชาติ สร้างความเป็น
ปึกแผ่นของประเทศ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงปัจจุบัน
2. สร้างความภาคภูมิใจ และเกียรติภูมิศักดิ์ศรีของความเป็นไทย
มวยไทย มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ปัจจุบันมีค่ายมวยอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก
ภาษาและวรรณกรรม ช่ไทยมีภาษาผูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง วรรณกรรมเป็นที่รู้จัก
มีการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ สุนทรภู่เป็นนักปราชญ์ทางวรรณกรรมบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยกย่องจาก
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒฯธรรมแห่งประชาชาติ(ยูเนสโก) เป็นกวีเอกของโลก
อาหารไทย เป็นอาหารที่ชาวต่างชาติชื่นชอบและรู้จักกันแพร่หลาย อาทิเช่น ต้มยำกุ้ง ต้มข่าไก่ เป็นต้น
สมุนไพรไทย เป็นที่รู้จักและยอมรับจากนานาประเทศ จนบาง ประเทศนำสมุนไพรไทยไปจดเป็น
ลิขสิทธิ์ของตนเอง
3. การนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิตอย่างเหมาะสม ทำให้รู้จักพึ่งพาอาศัยกัน ให้อภัยกัน
4. การนำธรรมชาติมาใช้ในการดำรงค์ชีวิต เช่น อาหารไทย มักเป็นอาาหาร หวาน มันมีกะทิเป็น
ส่วนประกอบ หากรัปทานมากก็จะทำให้เกิดท้องอืดได้ ดังนั้น จึงมีการนำพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ใบมะกูดมาใส่
เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว
5. การพัฒนาชีวิตให้เหมาะสมกับยุคสมัย ในยุคสมัย ได้มีการพัฒนาไปตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่น คนในสมัยก่อนใช้เรือพาย เป็นพาหนะในการเดินทางแต่ปัจจุบันมีการพัฒนามาเป็นเรือที่ใช้เครื่องยนต์แทนทำให้การเดินทางรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาการเดินทาให้หลากหลายวิธีมาก เช่นรถยนต์ เครื่องบิน รถไฟใต้ดิน เป็นต้
ภูมิปํญญาไทยกับปัจจัยสี่

1. ภูมิปัญญาไทยด้านอาหารเครื่องดื่ม (อาหาร)
2. ภูมิปัญญาไทยด้านการแต่งกาย (เครื่องนุ่งห่ม)
3. ภูมิปัญญาไทยด้านที่อยู่อาศัย (ที่อยู่อาศัย)
4. ภูมิปัญญาไทยด้านสุขภาพอนามัย (ยารักษาโรค)

ภูมิปัญญาไทยด้านอาหาร เครื่องดื่ม

สังคมไทยมีความอุดมสมบรูณ์ บรรพบุรุษได้จัดรูปแบบอาหารได้อย่างเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ
และสภาพของสังคมในแต่ละภาค ซึ่งมีสรรพคุณช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้ร่างกายแข็งแรง ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ

1. ภาคกลาง อาหารของงภาคกลางเช่นน้ำพริกปลาทู แกงเลียง ต้มโคล้ง ต้มส้ม เป็นต้น
นํ้าพริกปลาทู แกงเลียง ต้มโคล้งกุ้งสด ต้มส้ม
2. ภาคเหนือ เช่น น้ำพริกอ่อง ขนมจจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอย แคบหมู ไส้อั่ว แกงโฮะ เป้นต้น
น้ำพริกอ่อง ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอย แคบหมู
3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) เช่นส้มตำ ปลาร้า น้ำตก ลาบ ก้อย ซุบหน่อไม้ ข้าวเหนียว เป็นต้น
ส้มตำ ลาบ ก้อย ไก่ย่าง นํ้าตก ซุบหน่อไม้
4. ภาคใต้ เช่นข้าวยำ แกงไตปลา แกงเหลือง ผัดสะตอ เป็นต้น
ข้าวยำ แกงไตปลา แกงเหลือง ผัดสะตอ

ด้านขนมไทย เป็นภูมิปัญญาไทย โดยคำว่า "ขนม" มาจากคำว่า "ข้าวหนม"

ข้าวหนม เป็นข้าวผสมกับน้ำอ้อยหรือน้ำตาล คำว่า "หนม" แปลว่า หวาน เมื่อรวมคำแล้ว ข้าวหนม
จึงหมายถึงข้าวหวาน ต่อมาเสียงสั้นลงเป็น "ขนม"ขนมไทย ในสมัยโบราณ มีส่วนผสมมาจากแป้งและน้ำตาล ต่อมา ในสมัยพระสมเด้จพระนารายณ์มหาราชจึงเริ่มมีการทำขนมที่มีส่วนผสมของไข่ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เป็นต้น และในปัจจุบันได้มีการประยุกต์ ดัดแปลงจนทำให้มีขนมไทยหลายหลายชนิดผลไม้ มีตลอดทั้งปี ทานได้ทุกฤดูกาลสมุนไพร สมุนไพรของไทยหลายหลากชนิดสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มได้ เช่น ใบเตบ ตะไคร้ มะตูมกระเจี๊ยบ ขิง ดอกคำฝอย เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดจะให้สรรพคุณแตกต่างกันไป อาทิเช่น น้ำขิง ช่วยขับลมน้ำกระเจี๊ยบช่วยขับปัสสาวะ น้ำมะตูมทำให้เจริญอาหาร และบำรุงธาตุ เป็นต้น  ปัจจุบันมีปผู้นิยมดื่มน้ำสุนไพรกันมาก เพราะทำให้สุขภาพดี และมีราคาถูก ถ้านักศึกษาสนใจสรรพคุณของสมุนไพรอื่น ๆ หาได้จากหนังสือความรู้ด้านสมุนไพรที่มีอยู่มากมายและหลากหลาย นอกจากนี้ อาจค้นคว้า
ภูมิปัญญาไทยด้านการแต่งกาย

บรรพบุรุษไทยได้สั่งสมภูมิปัญญาจากกระบวนการเรียนรู้ ทดลองพัฒนาจากธรรมชาติจนสามารถผลิต
เส้นใยผ้า อุปกรณ์การทอผ้า ตลอดจนการย้อมผ้าให้มีสีสันที่สวยงามจากผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติ จนกลายเป็น
เครื่องแต่งกายที่มีคุณค่ามาจนถึงปัจจุบัน เช่นต้นคราม ให้สีฟ้าอ่อน หรือสีครามขี้ครั่ง ให้สีแดงแก่นขนุน ให้สีเหลือง ถึงเหลืองอมน้ำตาลลูกมะเกลือ ให้สีเทา น้ำตาล จนถึงดำยอป่า ให้สีแดงเข ให้สีเหลือง

ภูมิปัญญาไทยด้านที่อยู่อาศัย
บ้าน คือ ที่อยู่อาศัย ซึ่งนับเป็นความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต การสร้างที่อยู่อาศัยของไทย มีรูปแบบที่
หลากหลายตามสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น การสร้างบ้านจะสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตของคนในท้องถิ่น
สภาพสังคม เศรษฐกิจ คติความเชื่อของผู้สร้าง แม้ว่าที่อยู่อาศัยของคนไทยทั้ง 4 ภาค จะไม่เหมือนกัน
ตัวอย่างเช่น ที่อยู่อาศัยของคนภาคกลาง ส่วนใหญ่จะเ็ป็นบ้านยกพื้นสูงใต้ถุนโล่ง มีหน้าต่าง และช่องลมจำนวนมากเพื่อรับลม คลายความร้อน ส่วนหลังคาเป็นรูปจั่ว เพื่อปกป้องความร้อนจากดวงอาทิตย์ และให้ฝนไหลลงสู่พื้นได้รวดเร็วขึ้น และเก็บน้ำฝนไว้ใช้ดื่มกิน

ความแตกต่างของบ้านสี่ภาค แตกต่างและมีลักษณธดังนี้
1. บ้านเรือนภาคกลาง
แบ่งเป้น 2 ลักษณะคือ

- เรือนเครื่องผูก เ้ป็นเรือนที่ใช้วัสดุก่อสร้างจากธรรมชาติ เช่นไม้ไผ่ จาก หญ้าคา ยึดโครงด้วยตอก
รือเส้นหวาย ซึ่งมีอายุใช้งานไม่มากนัก
- เรือนเครื่องสับ สร้างด้วยวัสดุไม้เนื้อแข็งยึดโครงด้วยการเข้าเดิอย บางส่วน บางส่วนอาจยึดด้วยโลหะ

ลักษณะโครงสร้างและสิ่งแวดล้อมของการปลูกเรือนไทยภาคกลาง

1. มักเป็นชุมชนที่อยู่ริมน้ำและที่ราบ บ้านมีลักษณะใต้ถุนสูงเพื่อป้องกันน้ำท่วม
2. หลังคาจั่วสูง ชายคายื่นยาว เพื่อบรรเทาอากาศร้อน ทำให้เย็นสบาย
3. วัสดุที่ใช้มุงหลังคา ใช้หญ้าคา จาก ไม้ กระเบื้องดินเผา เพื่อกันความร้อน
4. ลักษณะบ้านอยู่ในบริเวณเดียวกัน เป็นครอบครัวใหญ่

2. บ้านเรือนภาคเหนือ

เนื่องจากภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็นารปลูกบ้านจึงต้องใช้ภูมิปัญญาเพื่อให้เกิดความอบอุ่นและความเชื่อดังนี้
1. เพราะอากาศหนาวเย็น การปลูกเรือน จะวางตัวเรือนขวางตะวัน หันด้านกว้างที่เป็น
จั่วในแนวเหนือ-ใต้เพื่อให้บ้านได้รับแสงแดดเพื่อความอบอุ่น
2. ความเชื่อผีบรรพบุรุษ จึงมีการแบ่งพื้นที่เรือนส่วนใน (ห้องนอน) ตั้งหิ้งบูชาผีปู่ย่า
และห้ามไม่ให้บุคคลภายนอกเข้า
3. คนภายนอกเข้าออกได้เฉพาะส่วนนอกได้เฉพาะส่วนนอก เช่น ชานครัว เพราะถ้าละเมิดถือว่าเป็นการผิดผี
3. บ้านเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็น การปลูกบ้านจึงต้องใช้ภูมิปัญญาเพื่อให้เกิดความอบอุ่นและความเชื่อดังนี้
1. ทำเลที่ตั้งของบ้านที่แตกต่างกัน เช่น ที่ราบลุ่ม ที่ดอน ไกล้ป่าละเมาะ หรือ
บางแห่งใกล้แหล่งน้ำบางพื้นที่แห้งแล้ง การปลูกเรือนจึงมีหลายตามพื้นที่
ที่สร้างบ้านและประโยชน์การใช้สอย
2. ความเชื่อ เช่น ห้ามถมหรือปลูกเรือนทับบ่อน้ำที่ขุดไว้เช่นใช้ร่วมกันห้ามปลูก
เรือนทับตอไม้หรือปลูกเรือนคร่อมจอมปลวก ทับหนองน้ำเพราะจะนำความล่มจมมาสู่เจ้าของเรือน
4. บ้านเรือนภาคใต้

เนื่องจากภาคใต้มีฝนตกชุก ทำให้ดินทรุดต้วง่าย ลักษณะบ้านจึงเป็นดังนี้
1. ภาคใต้ลักษระอากาสมีฝนตกชุก มีลมและลมแรงตลอดปี บ้านเรื้องจึง
มักมีหลังคา เตี้ยลาดชันเป็นการลดการประทะของแรงลม เมื่อฝนตกจะทำ
ให้น้ำไหลได้เร็วขึ้นจะทำให้หลังคาแห้งไวด้วย
2.ฝาเรือนเป็นไม้กระดานตีเกล็ดในแนวนอน เพื่อลดแรงต้านของลม
3.เป็นเรือนใต้ถุนสูงเสาบ้านไม่ฝังลงดินเพราะดินทรุดง่ายจึงใช้วิธีหล่อซีเมนต์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดโตกว่าเสาปกติความสูงประมาณ 3 ฟุตเพื่อวางเสาเรียกว่า"ตีนเสา"นอกจากนี้ยังป้องกันปลวกและเชื้อราด้วย
4. ลักษณะพิเศษ เรือนภาคใต้สามารถเคลื่อนย้ายไปปลูกในพื้นที่อื่น ๆได้โดย ไม่ต้องรื้อ หรือถอดส่วนประกอบของเรือนอกภูมิปัญญาไทยด้านสุขอนามัย

ประวัติการแพทย์แผนไทย พอสรุปเป็นลำดับได้ดังนี้

- สมัยอยุธยา การแพทย์แผนไทยเริ่มในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีการรวบรวมตำรับยาขึ้น
เป็นครั้งแรก
- สมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงให้มี
การรวบรวมและ จารึกตำรายา ตำราการนวดตามศาลาราย มีรูปฤาษีดัดตนในบริเวณวัด
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระบรมราชโชองการให้ผู้มีความรู้เรื่องสรรพคุณยา และผู้ชำนาญการรักษาโรค และผู้มีตำรายาเข้ามาถวาย โดยให้หมอหลวงพิจารณาคัดเลือก
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณแห่งแรก คือ

โรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์

แนวทางการปฏิบัติ ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาด้านสุขอนามัย มีอยู่ 3 แนวทาง คือ
1. ภูมิปัญญาด้านเภสัช
2. ภูมิปัญญาด้านเวชกรรมไทย
3. ภูมิปัญญาด้านการนวดแผนโบราณ

ภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับความคิดและความเชื่อ
สังคมไทยมีความเชื่อในเรื่องของกฎแห่งกรรม จากหลักคำสอนทางศาสนาเชื่อหลักการเวียนว่ายตายเกิด
อิทธิของดวงดาว จักรราศรี แม้ว่าในสังคมยึคใหม่จะเชื่อในเรื่องวิทยาศาสตร์มากขึ้น แต่ความเชื่อเก่า ๆ
ก็ยังมีอิทธิพลของอยู่ ซึ่งสังคมไทยมีความเชื่ออยู่ 3 เรื่อง คือ

1. ความคิด ความเชื่อเกี่ยวกับวันเกิด
คนไทยมีความเชื่อ วัน เดือน ปีเกิด เวลาตกฝาก มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคน ดังนี้
คนเกิดวันอาทิตย์ มีอริยามธาตุราชสีห์ คือ มีความเป็นใหญ่ เข้มแข็ง รักความเป็นอิสระ รักเกียรติยศ ศักดิ์ศรี
คนเกิดวันจันทร์ ได้รับอธิพลจากดวงจันทร์ มีลักษณะนิ่มนวล อ่อนหวาน ใจเย็น มีเสนห์ อารมณ์อ่อนไหว
คนเกิดวันอังคาร มีความกล้าหาญ เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว ชอบต่อสู้
คนเกิดวันพุธ เชื่องช้า ความจำดี อยู่ในโอวาท สุภาพ ช่างคิด
คนเกิดวันพฤหัสบดี ชอบศึกษาหาความรู้ เฉลียวฉลาด มีเมตตา โอบอ้อมอารี
คนเกิดวันศุกร์ เป็นคนรักสงบ รักหมู่คณะ ชอบความรื่นเริง ความสวยงาม รักศิลปะ
คนเกิดวันเสาร์ เนคนอดทน รักสันโดษ ช่างสังเกต ระมัดระวัง เป็นต้น
2. ความคิดเชื่อเรื่องการตั้งชื่อ

โดยทั่วไปมักนำวัน เดือน ปี เวลาตกฟากไปผูกดวงชะตาและตั้งชื่อ และนำไปให้พระภิกษุที่มีความรู้
ตั้งชื่อให้ เพราะเชื่อว่าชื่อมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต ชื่อที่ดีไม่มีลักษณะกาลกิณี จะทำให้มีชีวิตที่ดี
ตรงกันข้าม ถ้าชื่อไม่เป็นมงคลกับวันเดือนปีเกิด จะทำให้ชีวิตมีอุปสรรค หรือพบกับความอัปมงคล

3. ความเชื่อเรื่องต้นไม้มงคล

ประเทศไทยมีต้นไม้หลายชนิดที่มีชื่อและความหมายเป็นมงคล คนไทยส่วนใหญ่จึงมีความเชื่อว่า
ถ้านำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านจะเกิดความเป็นสิริมงคล ตัวอย่างเช่น
ต้นขนุน หมายถึง หนุนให้ดีขึ้น สนับสนุนให้เจริญก้าวหน้า
ต้นทองหลาง หมายถึง การมีเงินทอง มีความร่ำรวย
ต้นไผ่สีสุก หมายถึง ความสุขความเจริญ ปราศจากความทุกข์
ต้นสัก หมายถึง ความมีเกียรติ มียศถาบรรดาศักดิ์
ต้นราชพฤกษ์ หมายถึง ความยิ่งใหญ่ การมีอำนาจวาสนา

กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาไทย

เนื่องจากภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาทองถิ่นต่างมีความสัมพันธ์และมีความเชื่อมโยงกันลักษณะ
การถ่านทอดจึงมีลักษณธดังนี้

1. การถ่ายทอดด้วยวิธีการผ่านทางกิจกรรมอย่างง่าย ๆ เช่น การละเล่น การเล่านิทาน การทายปริศนา
ซึ่งมักเป็นวิธีที่ใช้เด็ก มักมุ่งเน้นในเรื่องของจริยธรรม

2. วิธีการบอกเล่าหรือเล่าผ่านทางพิธีกรรมต่าง ๆ เช่นพิธีกรรมทางศาสนา พิธีการแต่งงาน พิธีกรรม
ขนบธรรมเนียมของท้องถิ่นต่าง ๆ หรือการลงมือประกอบอาชีพตามแบบอย่างบรรพบุรุษ

3. การถ่ายทอดในรูปแบบของการบันเทิง เป็นการสอดแทรกในเนื้อหาคำร้องของการแสดงต่าง ๆ
เช่น ลิเก โนรา หนังตะลุง หมอรำ ซึ่งมักกล่าวถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ธรรมเนียม ประเพณี คติคำสอน อาชีพจารีตประเพณี เป็นต้น

4. การถ่ายทอดเป้นลายลักษณ์อักษร ในอดีตมีการจารโลงบนใบลาน และเขียนลงในสมุดข่อย ส่วน
ในยุคปัจจุบันจะถ่ายทอดผ่านทางสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

การส่งเสริมภูมิปัญญาไทย

สรุปได้ดังนี้
1. ให้ความยกย่องครูภูมิปัญญาไทย
2. จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย เพื่อเป็นศูนย์รวมแห่งการเรียนรู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญาของชุมชน
เช่น พิพิธภัณฑ์ควายไทย จังหวัดสุพรรณบุรี และพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีจังหวัดพิษณุโลก
3. จัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และเป็นที่ถ่ายทอดความรู้ของผู้ทรงภูมิปัญญา
4. จัดตั้งกองทุนส่งเสริมภูมิปัญญาไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน
5. ให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ภูมิปัญญาไทย เพื่อเป็นการพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติ
6. จัดตั้งสถาบันเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย ให้ภูมิปัญญาไทยเป็นสถาบันของชาติ เพื่อทำหน้าที่ประสานงาน
และเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย ให้บุคคล ทั่วไปได้มีความรู้
7. ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทรงภูมิปัญญาทั้งระดับชาติและระดับโลกระดับชาติ ประกาศการย่องย่อยเชิดชูเกียรติ เช่น ศิลปินแห่งชาติ คนดีศรีสังคม บุคคลตัวอย่าง ในสาขาอาชีพต่างเป็นต้น